การมีส่วนร่วม ของผู้มีส่วนได้เสีย
หลักการด้านความยั่งยืนของแพลนบี

แพลนบี ยึดมั่นในพันธกิจภายใต้แนวคิดในการ “สร้างคุณค่าด้านความยั่งยืนในระยะยาวให้ผู้มีส่วนได้เสีย” โดยได้นำแนวทางการขับเคลื่อนเพื่อพัฒนาอย่างยั่งยืนรูปแบบองค์รวมมาใช้ให้เกิดคุณค่าอย่างแท้จริง ภายใต้หลักการพัฒนาการดำเนินงานเพื่อความยั่งยืนของบริษัทตามนโยบายการบริหารความยั่งยืนอันประกอบด้วย 10 ข้อหลักที่ครอบคลุมทั้ง 3 มิติ คือ ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม และด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นแกนหลักในทุกกระบวนการตลอดทั้งห่วงโซ่คุณค่า โดยมีคณะกรรมการบริษัทเป็นผู้ขับเคลื่อนและสนับสนุนหลักการในการเตรียมแผนการพัฒนาอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อก่อประโยชน์สูงสุดแก่ผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน

กระบวนการในการกำหนดประเด็นที่มีนัยสำคัญต่อความยั่งยืนของบริษัทจัดทำขึ้นตามมาตรฐานของ GRI (GRI Sustainability Reporting Standards) โดยพิจารณาจากประเด็นที่มีความสำคัญต่อผู้มีส่วนได้เสีย และประเด็นที่มีความสำคัญต่อผลกระทบด้าน เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมของบริษัท ซึ่งมีขั้นตอนในการคัดเลือกเนื้อหาและกำหนดประเด็นที่มีนัยสำคัญต่อความยั่งยืน ดังนี้

1

ระบุประเด็นที่มีนัยสำคัญ: พิจารณาคัดเลือกประเด็นจากการจัดประชุมเชิงปฏิบัติร่วมกับผู้บริหารระดับสูง โดยพิจารณาและวิเคราะห์ทั้งปัจจัยจากภายในและภายนอก, กลยุทธ์ด้านความยั่งยืน, ความเสี่ยง และโอกาสของบริษัท รวมถึงตัวชี้วัดความยั่งยืน เพื่อระบุประเด็นความยั่งยืนที่มีนัยสำคัญ และกำหนดขอบเขตของแต่ละประเด็นความยั่งยืน

2

จัดลำดับความสำคัญของประเด็น: จากความร่วมมือของผู้บริหารระดับสูง และหัวหน้าสายงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อกลั่นกรองและจัดลำดับความสำคัญ โดยพิจารณาใน 2 มิติ คือ ความสำคัญของผลกระทบจากกการดำเนินธุรกิจ และผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้เสียภายนอก เช่น คู่ค้าทางธุรกิจ ลูกค้า ภาครัฐ และภาคสังคม

3

ตรวจสอบความถูกต้อง: ก่อนนำเสนอต่อคณะกรรมการบริษัท เพื่อพิจารณายืนยันและอนุมัติประเด็นความยั่งยืนที่มีนัยสำคัญภายใต้ขอบเขตผลกระทบ ทั้งภายใน และภายนอกองค์กร

4

พัฒนาปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง: บริษัทจะมีการจัดเตรียมช่องทางที่หลากหลายเพื่อรับฟังความคิดเห็น มุมมอง และข้อเสนอแนะของผู้มีส่วนได้เสียภายนอกองค์กร เพื่อพัฒนาและปรับปรุงเนื้อหาการจัดทำรายงานในปีต่อไป โดยจะยังคงยึดหลักการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสียและบริบทความยั่งยืนเป็นสำคัญ

นโยบายการบริหารความยั่งยืนอันประกอบด้วย 10 ข้อหลักที่ครอบคุลมทั้ง 3 มิติ

ผลการประเมินและสาระสำคัญ

ผลการประเมินและสาระสำคัญที่บริษัทมุ่งมั่นที่จะดำเนินงานเพื่อสร้างคุณค่าด้านความยั่งยืนในระยะยาวในกรอบระยะเวลา 3 ปีข้างหน้า
การกำกับดูแลกิจการที่ดีและมีจริยธรรม

แพลนบี มุ่งมั่นที่จะสร้างสรรค์สินค้าและบริการที่มีนวัตกรรมสู่ตลาด เพื่อสร้างความแข็งแกร่งทางธุรกิจ และขีดความสามารถในการแข่งขัน ในขณะเดียวกัน แพลนบี ยังมุ่งมั่นที่จะรับผิดชอบต่อสังคม โดยการควบคุมเนื้อหาสื่อโฆษณาให้มีข้อมูลคอนเทนต์ที่ถูกต้อง รวมถึงเป็นเนื้อหาที่สร้างคุณค่าต่อสังคม

แพลนบี ได้ใช้สื่อโฆษณาในการเผยแพร่หรือประชาสัมพันธ์ข่าวสารและเนื้อหาที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม เช่น การรายงานสภาพจราจร และการรายงานสถานการณ์ผู้ติดเชื้อ COVID-19 รวมทั้งแคมเปญอื่นๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม เป็นต้น

การตลาดผ่านสื่ออย่างมีความรับผิดชอบ

แพลนบี มุ่งมั่นที่จะสร้างสรรค์สินค้าและบริการที่มีนวัตกรรมสู่ตลาด เพื่อสร้างความแข็งแกร่งทางธุรกิจ และขีดความสามารถในการแข่งขัน ในขณะเดียวกัน แพลนบี ยังมุ่งมั่นที่จะรับผิดชอบต่อสังคม โดยการควบคุมเนื้อหาสื่อโฆษณาให้มีข้อมูลคอนเทนต์ที่ถูกต้อง รวมถึงเป็นเนื้อหาที่สร้างคุณค่าต่อสังคม

แพลนบี ได้ใช้สื่อโฆษณาในการเผยแพร่หรือประชาสัมพันธ์ข่าวสารและเนื้อหาที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม เช่น การรายงานสภาพจราจร และการรายงานสถานการณ์ผู้ติดเชื้อ COVID-19 รวมทั้งแคมเปญอื่นๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม เป็นต้น

ความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยของลูกค้า

แพลนบี ให้ความสำคัญกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ทั้งของลูกค้าและพนักงาน โดยบริษัทได้ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงของไซเบอร์ โดยทำตามข้อกำหนดในการเก็บข้อมูล การบันทึกข้อมูล และการใช้ข้อมูลของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องของบริษัทเท่านั้น

แพลนบี ตระหนักและให้ความใส่ใจกับความปลอดภัยของลูกค้า รวมถึงชุมชนในบริเวณที่แพลนบีเข้าไปติดตั้งป้าย เพื่อให้แน่ใจว่าทุกคนมีชีวอนามัยและความปลอดภัยที่ดีเป็นไปตามมาตรฐานที่ทุกคนควรได้รับ

ตารางเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน

บริษัทให้ความสำคัญในด้านเศรษฐกิจมากที่สุด ในหัวข้อการกำกับดูแลกิจการที่ดีและมีจริยธรรม (Corporate Governance) รองลงมาคือด้านสังคม ในหัวข้อการตลาดผ่านสื่ออย่างมีความรับผิดชอบ (More than Advertising) และความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยของสังคม (Public Safety) ตามลำดับ เนื่องจากบริษัทยึดมั่นในการดำเนินธุรกิจภายใต้หลักจริยธรรมและแนวทางการกำกับดูแลกิจการที่ดีโดยบูรณาการกับวิสัยทัศน์ พันธกิจ กลยุทธ์ และเป้าหมายระยะยาวขององค์กรเพื่อเพิ่มความเชื่อมั่นให้แก่ผู้ถือหุ้น ผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย ควบคู่ไปกับการมีความรับผิดชอบต่อสังคมและชุมชนโดยการมอบพื้นที่สื่อของบริษัทเพื่อสร้างประโยชน์ให้แก่สังคม อย่างไรก็ตามในส่วนของหัวข้ออื่นๆ บริษัทไม่ได้นิ่งนอนใจและเตรียมแผนในระยะเวลา 5-10 ปี ในการพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น

บริษัทคำนึงถึงบทบาทและให้ความสำคัญกับผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มทั้งภายในและภายนอก โดยจะดูแลให้ได้รับการปฏิบัติอย่างเหมาะสม เสมอภาค เป็นธรรม และสนับสนุนการดำเนินงานแบบมีส่วนร่วมอย่างครอบคลุม เพื่อนำไปสู่การสร้างความสัมพันธ์อันดี สร้างความเชื่อมั่น และสร้างคุณค่าร่วมกันระหว่างผู้มีส่วนได้เสียที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนและความสำเร็จขององค์กรในระยะยาว

บริษัทคำนึงถึงบทบาทและให้ความสำคัญกับผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มทั้งภายในและภายนอก โดยจะดูแลให้ได้รับการปฏิบัติอย่างเหมาะสม เสมอภาค เป็นธรรม และสนับสนุนการดำเนินงานแบบมีส่วนร่วมอย่างครอบคลุม เพื่อนำไปสู่การสร้างความสัมพันธ์อันดี สร้างความเชื่อมั่น และสร้างคุณค่าร่วมกันระหว่างผู้มีส่วนได้เสียที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนและความสำเร็จขององค์กรในระยะยาว

ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ประเด็นที่ ให้ความสนใจ การดำเนินการและการตอบสนอง ช่องทางการสื่อสารและการสร้างความผูกพัน การสร้างคุณค่า
ผู้ถือหุ้น/ ผู้ลงทุน
  • จริยธรรมในการดำเนินธุรกิจและความโปร่งใส
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจและความสามารถในการแข่งขัน
  • ทิศทางการเติบโตของธุรกิจและทิศทางในอนาคต
  • การเปิดเผยข้อมูล
  • ปฏิบัติตามจรรยาบรรณทางธุรกิจและนโยบายของบริษัทอย่างเคร่งครัด
  • ดำเนินธุรกิจตามกฎหมายและข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง
  • ปฏิบัติตามเงื่อนไขของเจ้าหนี้อย่างเคร่งครัด
  • เปิดเผยข้อมูลด้วยความโปร่งใสและอยู่ในความเหมาะสม
  • รับฟังข้อแนะนำและเสียงสะท้อนจากผู้ถือหุ้นและนักลงทุน
  • มอบหมายหน่วยงานที่รับผิดชอบในการประสานงานกับผู้ถือหุ้นและนักลงทุน
  • การประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี
  • การรายงานผลประกอบการราย ไตรมาสและรายปี โดยเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวบนเว็บไซต์ ของบริษัท และตลาดหลักทรัพย์ฯ
  • ช่องทางการสื่อสารต่างๆ ได้แก่ เว็บไซต์ อีเมล โทรศัพท์ เป็นต้น
  • ช่องทางการร้องเรียน Whistleblowing
  • การขับเคลื่อนองค์กรสู่ความยั่งยืน
  • ประกอบธุรกิจด้วยความโปร่งใสและตรวจสอบได้ รวมทั้งมีการกำกับกิจการที่ดีและมีประสิทธิภาพ
  • ดำเนินกิจการที่มีผลประกอบการที่เติบโต มั่นคง และยั่งยืน
  • เปิดเผยข้อมูลผลการดำเนินงานอย่างสม่ำเสมอ
  • คำนึงถึงสิทธิของผู้ถือหุ้นและปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นอย่างเท่าเทียม
พนักงาน
  • ความก้าว หน้าในอาชีพ
  • การฝึกอบรมเพื่อพัฒนาทักษะ
  • เงินตอบแทน สิทธิประโยชน์ และผล ประโยชน์อื่นๆ
  • อาชีว อนามัยและความปลอดภัย
  • ความโปร่งใส การเคารพในหลักสิทธิมนุษยชน และการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกัน
  • จัดให้มีการฝึกอบรมที่จำเป็นเพื่อการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
  • จัดให้มีโปรแกรมเพื่อรักษาพนักงานที่ดีและมีความสามารถ
  • จัดการให้พนักงานได้รับเงินตอบแทนและสิทธิประโยชน์ที่เป็นธรรม
  • ปฏิบัติตามกฎหมายแรงงานไทย
  • ปฏิบัติกับพนักงานด้วยความเคารพตามหลักสิทธิมนุษยชน
  • จัดให้มีช่องทางสำหรับพนักงานเพื่อส่งข้อคิดเห็น ข้อแนะนำ หรือข้อร้องเรียน
  • กำหนดค่านิยมองค์กร
  • การสนทนา การประชุมทีม
  • การประชุมพนักงานทุกระดับ โดยผู้บริหารระดับสูงของสายงานและ/หรือของบริษัท
  • อินทราเน็ต
  • การสำรวจความผูกพันของพนักงาน
  • เว็ปไซต์บริษัท
  • ช่องทางการร้องเรียน Whistleblowing
  • พนักงานได้รับการฝึกอบรมที่เหมาะสมเพื่อความก้าว หน้าในสายอาชีพ
  • การพัฒนาศักยภาพอย่างต่อเนื่อง
  • เสถียรภาพและความก้าว หน้าในอาชีพ
  • การประเมินความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวด ล้อมในการทำงาน
  • กลไกการรับข้อร้องเรียน
ลูกค้า
  • การปฏิบัติอย่างเป็นธรรม
  • การปกป้องสิ่งแวดล้อม
  • ตำแหน่งที่ตั้งป้ายสื่อโฆษณา
  • การพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้วยนวัตกรรม
  • ความปลอดภัยของข้อมูลและความเป็นส่วนตัว
  • การอนุรักษ์ทรัพยากร
  • ดำเนินธุรกิจตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด
  • เสนอผลิตภัณฑ์และบริการที่ตอบสนองต่อความต้องการในราคาที่เหมาะสม
  • มอบหมายหน่วยงานที่รับผิดชอบในการรับข้อคิดเห็น ข้อแนะนำ หรือข้อร้องเรียนจากลูกค้า
  • จัดหาวัตถุดิบจากแหล่งที่ยั่งยืน
  • ริเริ่มวิธีการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
  • ปฏิบัติตามจรรยาบรรณทางธุรกิจและนโยบายของบริษัทอย่างเคร่งครัด
  • ศูนย์รับข้อร้องเรียน
  • การสำรวจความพึงพอใจประจำปี
  • การสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า เช่น การจัดกิจกรรมกระชับความสัมพันธ์ร่วมกัน เป็นต้น
  • การรับเรื่องร้องเรียน ข้อเสนอแนะ และความคิดเห็นผ่านช่องทางการรับเรื่องร้องเรียน
  • ช่องทางการร้องเรียน Whistleblowing
  • ความน่าเชื่อถือของสื่อหรือผลิตภัณฑ์
  • นำเสนอผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ ตรงตามความคาดหวังของลูกค้า ในราคาที่เป็นธรรมและเหมาะสม
  • ให้ข้อมูลที่ถูกต้องและเพียงพอต่อการตัดสินใจของลูกค้า
  • พัฒนาคุณภาพและรูปแบบของผลิตภัณฑ์และบริการอย่างต่อเนื่อง
คู่ค้า
  • จริยธรรมในการดำเนินธุรกิจ ความโปร่งใส และความเท่าเทียม
  • ทิศทางของธุรกิจในอนาคตและการเติบโตของธุรกิจ
  • การเสริมสร้างศักยภาพของคู่ค้า
  • กำหนดให้มีจรรยาบรรณคู่ค้าเพื่อกำหนดมาตรฐาน
  • พัฒนาโครงการคู่ค้าที่เป็นพันธมิตรกับบริษัท
  • มอบหมายหน่วยงานที่รับผิดชอบในการสื่อสารกับคู่ค้าในเรื่องต่างๆ และประเด็นที่เกี่ยวข้องโดยตรง
  • ปฏิบัติต่อคู่ค้าทุกรายด้วยความเสมอภาคและเท่าเทียมตามที่ระบุไว้ในจรรยาบรรณทางธุรกิจ
  • การพัฒนามาตรวัดผลของผู้ใช้สื่อร่วมกับคู่ค้า
  • การพัฒนาคุณภาพของสื่อร่วมกับคู่ค้าอย่างสม่ำเสมอ
  • กระบวนการคัดเลือกและการประเมินผลการปฏิบัติงานของคู่ค้า
  • การประชุมร่วมกับคู่ค้า
  • รายงานประจำปี
  • เว็บไซต์บริษัท
  • ช่องทางการร้องเรียน Whistleblowing
  • ความรู้ทางด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม
  • จัดซื้อจัดจ้าง อย่างโปร่งใสเป็นธรรม และตรวจสอบได้
  • ปฏิบัติตามข้อตกลงในสัญญา
  • ความสัมพันธ์เชิงบวกระหว่างบริษัทและ คู่ค้า
  • ความเชื่อถือและความสัมพันธ์กับบริษัทในระยะยาว
  • สินค้าและบริการที่มีคุณภาพต่อผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกลุ่มอื่น
ชุมชน
  • ผลกระทบจากการดำเนินธุรกิจต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม
  • ส่งเสริมคุณภาพชีวิตของชุมชน เช่น รายได้ การจ้างงาน การศึกษา และสุขภาพ
  • ดำเนินธุรกิจตามกฎหมายและข้อบังคับ
  • ปกป้องสิทธิมนุษยชน
  • ดำเนินธุรกิจด้วยความใส่ใจเพื่อป้องกันผลกระทบต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม
  • ปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด
  • สื่อสารข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับชุมชนอย่างถูกต้องและทันท่วงที
  • ริเริ่มโครงการรักษาสิ่งแวดล้อม
  • ริเริ่มโครงการเพื่อเสริมสร้างด้านสังคม
  • การลงพื้นที่
  • กิจกรรมด้านความรับผิดชอบต่อสังคม
  • กิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • การสำรวจความพึงพอใจของชุมชน
  • รายงานประจำปี
  • เว็บไซต์บริษัท
  • ช่องทางการร้องเรียน Whistleblowing
  • ลดผลกระทบจากการดำเนินธุรกิจต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อมให้น้อยที่สุด
  • ความสัม พันธ์เชิงบวกระหว่างบริษัทและชุมชน
  • โครงการสร้างคุณค่าที่จับต้องได้
  • คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
ผู้เช่า
  • การปฏิบัติอย่างเป็นธรรม
  • การปกป้องสิ่งแวดล้อม
  • ตำแหน่งที่ตั้งป้ายสื่อโฆษณา
  • ดำเนินธุรกิจตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
  • การสร้างความสัมพันธ์กับผู้เช่า
  • การประเมินความพึงพอใจประจำปี
  • รายงานประจำปี
  • เว็บไซต์บริษัท
  • ช่องทางการร้องเรียน Whistleblowing
  • ความน่าเชื่อถือและความมั่นใจต่อบริษัทในระยะยาว
  • ความสัมพันธ์เชิงบวกระหว่างบริษัทและ ผู้เช่า
หน่วยงานกำกับดูแลและภาครัฐ
  • จริยธรรมในการดำเนินธุรกิจ
  • การปฏิบัติตามกฎหมายและข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง
  • ความโปร่งใสและการเปิดเผยข้อมูล
  • ความร่วมมือกับภาครัฐเพื่อบังคับใช้นโยบายและเป็นแบบอย่างของกลุ่มธุรกิจ
  • ปกป้องสังคมและสิ่งแวดล้อม
  • ดำเนินธุรกิจด้วยความใส่ใจและเคารพกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
  • เปิดเผยข้อมูลด้วยความโปร่งใส
  • ให้ความร่วมมือและสนับสนุนการดำเนินงานที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อกลุ่มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และบริษัท
  • ริเริ่มโครงการระยะยาวเพื่อลดผลกระทบและปรับปรุงคุณภาพด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม
  • การเปิดเผยข้อมูลด้านการดำเนินธุรกิจ
  • การใช้พื้นที่โฆษณาประชาสัมพันธ์ข่าวสารที่เป็นประโยชน์
  • การร่วมมือและสนับสนุนโครงการที่เกี่ยวข้อง
  • ช่องทางการร้องเรียน Whistleblowing
  • การปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง
  • ความโปร่งใสในการประมูล / สัมปทาน
  • การเป็นตัวอย่างในการดำเนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบ
  • ความน่าเชื่อถือของสื่อ
  • โปร่งใสและตรวจสอบได้รวมทั้งมีการกำกับกิจการที่ดีและมีประสิทธิ ภาพ
สมาคมอุตสาหกรรม
  • จริยธรรมทางธุรกิจ
  • การปฏิบัติตามกฎหมายและข้อ บังคับที่เกี่ยวข้อง
  • ความโปร่งใสและการเปิดเผย ข้อมูล
  • ความร่วมมือกับสมาคม อุตสาหกรรมเพื่อเป็นแบบอย่าง ของกลุ่มธุรกิจ
  • ปกป้องสังคมและสิ่งแวดล้อม
  • ดำเนินธุรกิจด้วยความใส่ใจและเคารพกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
  • เปิดเผยข้อมูลด้วยความโปร่งใส
  • ให้ความร่วมมือและสนับสนุนการดำเนินงานที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อกลุ่มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และบริษัท
  • ริเริ่มโครงการระยะยาวเพื่อลดผลกระทบ และปรับปรุงคุณภาพด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม
  • การมีส่วนร่วมกับสมาคมอุตสาหกรรมที่มีวัตถุประสงค์เกี่ยวข้องกัน
  • รายงานประจำปี
  • เว็บไซต์บริษัท
  • ช่องทางการร้องเรียน Whistleblowing
  • การกำกับกิจการที่ดี
  • ความสัมพันธ์เชิงบวกระหว่างบริษัทและสมาคมอุตสาหกรรม
สื่อมวลชน
  • ความโปร่งใสและการเปิดเผยข้อมูล
  • ทิศทางของธุรกิจ
  • ความปลอดภัยของข้อมูลและการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
  • มอบหมายหน่วยงานที่รับผิดชอบในการสร้างความสัมพันธ์กับสื่อมวลชน
  • สื่อสารและเปิดเผยข้อมูลที่ทันต่อเหตุการณ์
  • เปิดโอกาสให้สื่อมวลชนเสนอความคิดเห็น
  • รูปแบบและช่องทางการสื่อสาร
  • การสนับสนุนและสร้างความผูกพันในกิจกรรมสื่อมวลชน
  • ข่าวแจกและการให้สัมภาษณ์ผ่านสื่อ
  • รายงานประจำปี
  • เว็บไซต์บริษัท
  • ช่องทางการร้องเรียน Whistleblowing
  • ความ สัมพันธ์เชิงบวกระหว่างบริษัทและสื่อมวลชน
  • ข้อมูลอันเป็นประโยชน์และเป็นปัจจุบันบนพื้นฐานของข้อเท็จจริง
การบริหาร ความเสี่ยง

บริษัทตระหนักดีว่าการจัดการความเสี่ยงเป็นสิ่งสำคัญ เนื่องจากบริษัทย่อมต้องเผชิญกับความเสี่ยงหลากหลายรูปแบบ ไมว่าจะเป็นความเสี่ยงทางการค้า สินทรัพย์ กฎหมาย สิ่งแวดล้อม สุขภาพและความปลอดภัย การหยุดชะงักทางธุรกิจ และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ บริษัทได้ใช้แนวคิดแบบบูรณาการในการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อระบุและจัดลำดับความสำคัญของประเด็นต่างๆ โดยใช้ข้อมูลจากมุมมองของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องที่ดำเนินงานในหลากหลายมิติตลอดห่วงโซ่คุณค่า ทิศทางของอุตสาหกรรมสื่อโฆษณา ตลอดจนแนวโน้มด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน ทั้งนี้ การจัดลำดับความสำคัญความเสี่ยงถือเป็นขั้นตอนที่สำคัญในการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนของแพลนบี

บริษัทได้กำหนดกรอบการบริหารความเสี่ยงองค์กรตาม COSO Enterprise Risk Management 2017 ซึ่งมีการใช้ทั่วทั้งองค์กรผ่านการดำเนินตามนโยบายการบริหารจัดการความเสี่ยงของบริษัทกับพนักงานทุกระดับ คณะกรรมการบริหารความเสี่ยงของบริษัท (RMC) ได้กำหนดนโยบายและกรอบการบริหารความเสี่ยงองค์กร โดยมีคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง (RMC) เป็นผู้รับผิดชอบในการควบคุมดูแลความเสี่ยงตามกรอบและนโยบายที่กำหนด

ในขณะเดียวกันฝ่ายบริหารความเสี่ยงจะเป็นผู้สนับสนุนการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการความเสี่ยง ซึ่งหมายรวมถึงการรวบรวมข้อมูล การจัดฝึกอบรม และการส่งเสริมวัฒนธรรมการจัดการความเสี่ยงให้เกิดขึ้นทั่วทั้งองค์กร

บริษัทมีการกำหนดนโยบายบริหารจัดการความเสี่ยงที่ครอบคลุมทุกกิจกรรมทางธุรกิจทั้งปัจจัยภายในและภายนอกองค์กร ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยได้วางแผนบริหารจัดการความเสี่ยงอย่างมีประสิทธิภาพตั้งแต่การวางแผนกลยุทธ์ การปฏิบัติงาน การตัดสินใจลงทุนเพื่อทำธุรกิจใหม่ๆ รวมถึงการควบคุมแลติดตามเพื่อให้ความเสี่ยงอยู่ในระดับที่ยอมรับได้ ดังนั้นคณะกรรมการบริษัทจึงได้แต่งตั้ง คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง (Risk Management Committee) โดยมีหน้าที่และความรับผิดชอบดังนี้

1

กำหนด และทบทวน นโยบาย กรอบการบริหารความเสี่ยงองค์กร

2

กำกับดูแล และสนับสนุนให้มีการดำเนินงานด้านการบริหารความเสี่ยงองค์กร สอดคล้องกับกลยุทธ์และเป้าหมายทางธุรกิจ รวมถึงสภาวการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป

3

ให้ข้อเสนอแนะแนวทาง ติดตาม และประเมินผล การบริหารความเสี่ยงต่อคณะทำงานบริหารความเสี่ยง

4

พิจารณารายงานผลการบริหารความเสี่ยงองค์กร และให้ข้อคิดเห็นในความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น รวมทั้งแนวทางการกำหนดมาตรการควบคุมหรือบรรเทา (Mitigation Plan) และการพัฒนาระบบการจัดการบริหารความเสี่ยง เพื่อให้มีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง

5

สนับสนุนการดำเนินงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของการบริหารความเสี่ยงองค์กร

6

6. รายงานผลการบริหารความเสี่ยงองค์กรให้คณะกรรมการบริษัทรับทราบ และในกรณีที่มีปัจจัย หรือเหตุการณ์สำคัญซึ่งอาจมีผลกระทบต่อบริษัทอย่างมีนัยสำคัญ ต้องรายงานต่อคณะกรรมการบริษัท เพื่อทราบและพิจารณาโดยเร็วที่สุด

7

พิจารณาสอบทานการลงทุนในต่างประเทศ

8

ปฏิบัติหน้าที่อื่นใดตามที่คณะกรรมการบริษัทมอบหมาย

แผนผังคณะทำงานด้านความเสี่ยง

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2565 คณะกรรมการบริหารความเสี่ยงของบริษัทประกอบด้วยกรรมการและผู้บริหารระดับสูง จำนวน 4 คน ได้แก่

  1. นางมลฤดี สุขพันธรัชต์ ประธานคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง
  2. ดร.พินิจสรณ์ ลือชัยขจรพันธ์ กรรมการบริหารความเสี่ยง
  3. นายเอกภักดิ์ นิราพาธพงศ์พร กรรมการบริหารความเสี่ยง
  4. นายอานนท์ พรธิติ กรรมการบริหารความเสี่ยง

กรอบการบริหารความเสี่ยง

แนวทางการรายงานความเสี่ยง

ระดับความเสี่ยง การดำเนินการ การรายงาน

สูงมาก

ต้องกำกับดูแลใกล้ชิด และเสนอแผนการดำเนินการเพื่อลดระดับความเสี่ยง และมีแผนการติดตามความเสี่ยงจนระดับความเสี่ยงลดลง จนกระทั่งถึงระดับปานกลาง-ต่ำ และขออนุมัติแผนจากคณะกรรมการบริษัท

คณะกรรมการบริษัท (Board of Director: BOD)

สูง

ต้องคอยเฝ้าระวัง และเสนอแผนการดำเนินการเพื่อให้คณะกรรมการบริหารความเสี่ยงให้ความเห็นในการลดระดับความเสี่ยงให้เป็นไปตามแผนการดำเนินธุรกิจของบริษัท โดยให้มีแผนการติดตามความเสี่ยงจนระดับความเสี่ยงลดลงจนกระทั่งถึงระดับปานกลาง-ต่ำ

คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง (Risk Management Committee: RMC)

ปานกลาง

ใช้วิธีควบคุมปรกติ และเฝ้าระวัง

ผู้บริหารระดับสูง (Chief Executive Officer & Managing Director)

ต่ำ

ใช้วิธีควบคุมปรกติ ไม่ต้องเฝ้าระวัง

คณะทำงาน

ความเสี่ยงด้านกลยุทธ์

  • ความเสี่ยงจากความผันผวนและการชะลอตัวของภาวะเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ
  • ความเสี่ยงจากการพึ่งพาสื่อโฆษณาดิจิทัลกลางแจ้งของบริษัท
  • ความเสี่ยงจากสถานการณ์การแพร่ระบาดไวรัส COVID-19 (ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นใหม่)

ความเสี่ยงด้านการปฏิบัติงาน

  • ความเสี่ยงด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล
  • ความเสี่ยงจากภัยคุกคามต่อความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นใหม่)

ความเสี่ยงด้านการเงิน

  • ความเสี่ยงจากการไม่สามารถต่อสัญญาสัมปทาน หรือสัญญาเช่าพื้นที่หรือสัญญากับพันธมิตรทางธุรกิจ
  • ความเสี่ยงจากการมีภาระผูกพันกับคู่สัญญาที่อาจส่งผลกระทบต่อผลการดำเนินงานของบริษัท
  • ความเสี่ยงจากการพึ่งพิงเอเจนซี่โฆษณารายใหญ่

ความเสี่ยงด้านกฎระเบียบ

  • ความเสี่ยงจากกรณีที่มีผู้ถือหุ้นรายใหญ่ถือหุ้นในบริษัทมากกว่าร้อยละ 25
  • ความเสี่ยงด้านข้อกฎหมายควบคุมป้ายโฆษณาและอุบัติภัยที่อาจเกิดขึ้นกับป้ายโฆษณาของบริษัท
  • ความเสี่ยงในการปฏิบัติตามกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นใหม่)

ความเสี่ยงด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม

  • ความเสี่ยงด้านการทุจริตและคอร์รัปชั่น

รายละเอียดของความเสี่ยงข้างต้นได้ถูกเปิดเผยใน ONE REPORT ประจำปี 2565 หน้า 41-45 (https://planb.listedcompany.com/misc/ar/20230328-planb-ar2022-th.pdf)

บริษัทมุ่งเน้นแนวทางการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน โดยให้ความสำคัญกับการกำกับดูแลกิจการที่ดีและกระบวนการควบคุมภายในที่เหมาะสมเพียงพอ โดยได้มีการกำหนดนโยบายต่อต้านทุจริตและคอร์รัปชั่น

ทั้งนี้ บริษัทมีการการตรวจสอบป้องกันและประเมินความเสี่ยงด้านคอร์รัปชั่นจากกิจกรรมดำเนินงานของบริษัท มีการกำหนดมาตรการในการควบคุมและติดตามกระบวนการทำงานที่อาจเกิดการทุจริตได้ เพื่อยืนยันความถูกต้องของการปฏิบัติงานให้มีความสุจริตโปร่งใส ป้องกันการทุจริต รวมทั้งเปิดช่องทางการสื่อสารให้ผู้มีส่วนได้เสียสามารถแจ้งเบาะแส ข้อเสนอแนะ ข้อร้องเรียนเกี่ยวกับการทุจริตได้โดยตรงต่อคณะกรรมการตรวจสอบ ซึ่งปัจจุบันบริษัทได้รับการรับรองเป็นสมาชิกแนวร่วมปฏิบัติของภาคเอกชนไทยในการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น (CAC) นอกจากนี้ บริษัทยังกำหนดให้พนักงานทุกรายดำเนินการทดสอบความรู้ความเข้าใจในด้านจริยธรรมในการทำงานหรือ Code of Conduct อย่างเข้มงวด โดยพนักงานร้อยละ 100 ต้องสอบผ่านเกณฑ์ทั้งหมด ทั้งนี้ เพื่อเป็นการส่งเสริมให้พนักงานทุกรายของบริษัทรับทราบและปลูกฝังจริยธรรมในการทำงานแก่พนักงาน

เนื่องจากปัจจุบันบริษัทมีเป้าหมายในการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานโดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อช่วยให้เกิดความคุ้มค่าทางธุรกิจยิ่งขึ้น จึงมีความจำเป็นต้องพึ่งพาเทคโนโลยีมากขึ้น ดังนั้น การเชื่อมต่อกับระบบอินเทอร์เน็ตอาจทำให้บริษัทเผชิญกับภัยคุกคามที่สามารถเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมให้องค์กรมีความมั่นคง ปลอดภัยทางไซเบอร์ของระบบคอมพิวเตอร์ที่ใช้ดำเนินงานทางธุรกิจ และเป็นไปตามแนวปฏิบัติด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ตามมาตรฐานระดับสากลและตามกรอบของ พ.ร.บ. ความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของประเทศไทย ในปี 2565 ที่ผ่านมา

บริษัทจึงได้ดำเนินมาตรการต่างๆ อย่างเข้มข้น เพื่อบริหารจัดการความเสี่ยงดังกล่าวทั้งในเชิงรุกและเชิงรับ เช่น

  • การจัดทำนโยบายด้านความปลอดภัยไซเบอร์ที่ชัดเจนของกลุ่มบริษัท และจัดตั้งคณะทำงานเพื่อรับผิดชอบการพัฒนาเรื่องดังกล่าวทั้งในระยะสั้นและระยะยาว
  • การให้ความรู้แก่พนักงานด้านรูปแบบภัยคุกคามที่อาจเกิดขึ้นและแนวปฏิบัติในการป้องกัน/รับมือเหตุการณ์ด้วยตนเอง เพื่อจำกัดความเสียหายให้ส่งผลกระทบน้อยที่สุด
  • การทดสอบระบบและการฝึกซ้อมแผนกู้คืนระบบสารสนเทศ กรณีที่เกิดภัยคุกคาม

ตามที่ พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 ได้มีผลบังคับใช้แล้วในวันที่ 1 มิถุนายน 2565 (“กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล”) แม้ว่าลักษณะการทำธุรกิจของบริษัทจะทำให้บริษัทไม่ได้มีการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลเป็นจำนวนมากก็ตาม แต่บริษัทเองก็ได้ตระหนักถึงความสำคัญของกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และกฎระเบียบต่างๆ ที่ทางคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลได้ออกเพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติตามกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าว โดยบริษัทได้ดำเนินการจัดตั้งคณะทำงานคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อออกนโยบายและขั้นตอนการทำงานภายในบริษัทเพื่อให้สอดคล้องกับกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลและระเบียบอื่นใดที่เกี่ยวข้อง และเพื่อให้นโยบายและขั้นตอนการทำงานภายในมีการปรับปรุงแก้ไขให้เป็นปัจจุบันเสมอ รวมทั้งมีการวางระบบการจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลสำหรับให้พนักงานของบริษัทและบริษัทย่อยใช้งานในขั้นตอนของการจัดเก็บข้อมูลเพื่อป้องกันความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการรั่วไหลและสามารถป้องกันเหตุได้ทันในกรณีที่มีการร้องเรียนใด ๆ ระบบดังกล่าวจะสามารถติดตามหาต้นตอข้อมูล เอกสาร รวมทั้งผู้จัดเก็บได้ทันที นอกจากนี้ บริษัทยังได้ออกแผนงานเพื่อให้พนักงานทุกคนในบริษัทและบริษัทย่อยทราบถึงลักษณะการทำงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคล ขั้นตอนการทำลายข้อมูลส่วนบุคคล รวมทั้งขั้นตอนในกรณีที่เจ้าของข้อมูลได้มีการแจ้งขอให้บริษัท ลบ ทำลาย หรือแก้ไขข้อมูลส่วนบุคคลของตนที่เก็บรักษาไว้กับบริษัท และรวมไปถึงการแจ้งให้คู่ค้าและลูกค้าทราบถึงแผนการปฏิบัติงานและนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของบริษัท เพื่อให้การทำงานร่วมกันสอดคล้องกับกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลและแนวปฏิบัติของคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลอย่างมีประสิทธิภาพ

บริษัทประเมินความเสี่ยงเป็นประจำทุกปีและใช้ผลดังกล่าวในการวางแผนกลยุทธ์ขององค์กร บริษัทได้จำแนกความเสี่ยงตามระดับความรุนแรงที่ส่งผลต่อธุรกิจออกเป็น 5 ระดับ และระบุประเภทความเสี่ยงออกเป็น 5 ด้าน ได้แก่ ความเสี่ยงเชิงกลยุทธ์ ความเสี่ยงเชิงปฏิบัติการ ความเสี่ยงทางการเงิน ความเสี่ยงด้านกฎระเบียบหรือข้อบังคับ และความเสี่ยงด้านความยั่งยืน

ทั้งนี้ในปี 2565 บริษัทได้ประเมินความเสี่ยงทั้งหมด 11 ประเด็นด้วยกัน โดยประเมินตามระดับความรุนแรงของผลกระทบจาก “ระดับต่ำ” ถึง “ระดับสูงมาก” และโอกาสที่จะเกิดจาก “เป็นไปได้น้อย” ถึง “เป็นไปได้สูง” จากผลการประเมินพบว่า ความเสี่ยง 3 อันดับแรก ได้แก่ (1) ผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรค/การก่อการร้าย/ภัยพิบัติ ซึ่งเป็นความเสี่ยงในระดับสูงมาก (2) ความเสี่ยงด้านความสามารถในการแข่งขันเชิงกลยุทธ์ และ (3) ความเสี่ยงที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของภาครัฐ สถาณการณ์ทางการเมืองที่เปลี่ยนแปลง ซึ่งประเด็นดังกล่าวข้างต้นถือเป็นความเสี่ยงในระดับสูง

นโยบาย จัดซื้อจัดจ้าง

PLANB กำหนดนโยบายจการจัดซื้อจัดจ้างอย่างยั่งยืนที่เป็นไปอย่างโปร่งใส ยุติธรรม และตรวจสอบได้ รวมถึงส่งเสริมและสนับสนุนการจัดจ้างกับคู่ค้าที่มีประสิทธิภาพโดยคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ความรับผิดชอบต่อสังคม ชุมชน และหลักธรรมาภิบาลหรือการกับดูแลกิจการที่ดี (Environmental, Social, and Governance: ESG) เพื่อเข้าสู่การจัดการห่วงโซ่อุปทานอย่างเป็นระบบ ตลอดจนมุ่งเสริมสร้างให้คู่ค้าเติบโตอย่างมีศักยภาพและประสิทธิภาพร่วมกันกับองค์กรอย่างยั่งยืน

ฝ่ายจัดซื้อจัดจ้างของ PLANB มีการระบุระยะเวลาการชำระเงินไว้ใน TOR โดยระบุไว้ที่ 90 วัน ภายหลังจากการมีส่งสินค้าหรือบริการ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับข้อตกลงที่ทำกับแต่ละคู่ค้า (อาจมากกว่า หรือ น้อยกว่า 90 วัน)

ระยะเวลาการชำระเงิน (วัน) ระยะเวลาการชำระเงิน (วัน)
90 125
นโยบายและแนวปฏิบัติต่อผู้มีส่วนได้เสีย
การพัฒนาอย่างยั่งยืน