นโยบายการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม

บริษัท แพลน บี มีเดีย จำกัด (มหาชน) มีความมุ่งมั่นในการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนบนพื้นฐานของความรับผิดชอบต่อมิติเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยตระหนักถึงความสำคัญของความรับผิดชอบต่อปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการดำเนินธุรกิจ ผลิตภัณฑ์และบริการ บริษัทจึงมีนโยบายส่งเสริมให้เกิดการพัฒนากระบวนการผลิต สร้างสรรค์นวัตกรรม เพื่อลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น พร้อมทั้งกำหนดกลยุทธ์และแผนการดำเนินงานด้านความยั่ง ยืนที่เหมาะสม

เพื่อสนับสนุนให้เกิดการขับเคลื่อนกลยุทธ์การดำเนินงาน บริษัทจึงได้พิจารณาคัดเลือกประเด็นที่ส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืนขององค์กร รวมถึงร่วมกำหนดเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนของบริษัทให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืนและมีแนวทางสอดคล้องกับมาตรฐานสากล รวมไปถึงการเข้าร่วมมาตรฐานด้านความยั่งยืนโดยสมัครใจ ทั้งนี้เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เป็นไปตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ (SDGs) ภายใต้องค์การสหประชาชาติ (UN Global Compact)

บริษัทเล็งเห็นถึงความสามารถในการแข่งขันและโอกาสทางธุรกิจที่จะเพิ่มสูงขึ้นผ่านการดำเนินการด้านสิ่งแวดล้อม และสะท้อนผ่านการบริหารจัดการต้นทุนทางสิ่งแวดล้อม จึงได้ประกาศนโยบายการจัดการสิ่งแวดล้อมครอบคลุมถึงบริษัทย่อย พร้อมทั้งสื่อสารและส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการดำเนินโครงการต่างๆ ให้เกิดแนวปฏิบัติที่ดีตลอดห่วงโซ่คุณค่าขององค์กร ผ่านการมีส่วนร่วมของผู้บริหาร พนักงานทุกระดับ คู่ค้า และผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง

ทั้งนี้ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ บริษัทได้นำแผนงานและนโยบายการพัฒนาอย่างยั่งยืนเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินงานของบริษัทฯ โดยได้กำหนดยุทธศาสตร์ระดับองค์กรที่สอดคล้องต่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน 7 เป้าหมาย จาก 17 เป้าหมาย (อ้างอิงจากตารางเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน) และสอดคล้องกับขีดความสามารถ และศักยภาพของบริษัทฯ ที่จะร่วมก้าวเดินสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนตลอดห่วงโซ่คุณค่าขององค์กร

บทบาทและหน้าที่รับผิดชอบ

การบริหารจัดการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม รับผิดชอบโดยตรงจากกรรมการผู้จัดการ (Managing Director) เพื่อควบคุมมาตรฐานถึงปัญหาและวิธีการแก้ปัญหาด้านสภาพภูมิอากาศ ทั้งนี้ คณะกรรมการด้านความยั่งยืนจะเป็นผู้ทำหน้าที่นำเสนอกลยุทธ์และผลักดันระดับองค์กรแก่กรรมการผู้จัดการ เพื่อนำรายงานและเสนออนุมติต่อคณะกรรมการกำกับกิจการที่ดี และคณะกรรมการบริษัทบริษัทต่อไป

ทั้งนี้ คณะกรรมการด้านความยั่งยืนจะเป็นผู้ขับเคลื่อนเกี่ยวกับการจัดการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม ทำหน้าที่กำกับดูแลการดำเนินการในระดับองค์กร และกำหนดคณะกรรมการชุดช่อย (หน่วยงานชุดย่อยที่ต้องรับผิดชอบในแต่ละส่วนงาน) เพื่อทำหน้าที่กำกับดูแลในระดับปฏิบัติการ พร้อมทั้งกำหนดให้ประเด็นการบริหารจัดการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อมเป็นหน้าที่ของพนักงานทุกคน ทั้งนี้ กำหนดให้จัดการประชุมเป็นรายปี และรายงานผลการดำเนินงานต่อคณะกรรมการกำกับกิจการที่ดี และคณะกรรมการบริษัทตามวาระ

เป้าหมายในการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมปี 2566
  • บริษัทมีความมุ่งมั่นที่จะบริหารจัดการการใช้พลังงานไฟฟ้าให้มีประสิทธิภาพ ได้แก่ การใช้พลังงานไฟฟ้าในพื้นที่ส่วนกลาง และระบบปรับอากาศ โดยบริษัทตั้งเป้าหมายลดการใช้พลังงานร้อยละ 5 ในปี 2566 เทียบกับปี 2564
  • การเปลี่ยนระบบแสงสว่างของป้ายโฆษณาจากหลอดฟลูออเรสเซนต์เป็นหลอด LED ทั้งหมดร้อยละ 100 ภายในปี 2566
  • การลดการใช้น้ำล้างรถโดยสารประจำทาง โดยปรับเปลี่ยนวิธีการล้างแบบใหม่ อาทิ การเปลี่ยนหัวก๊อก เปลี่ยนวิธีล้างจากด้านบนลงล่าง และมีการตรวจเช็คความพร้อมของอุปกรณ์ตรวจไม่ปล่อยน้ำไหลทิ้งอย่างสม่ำเสมอ
เป้าหมายในการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมระยะยาว
  • บริษัทมีการกำหนดนโยบายในการเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้พลังงานไฟฟ้าอย่างต่อเนื่อง โดยตั้งเป้าหมายองค์กรในการลดการใช้พลังงานไฟฟ้าต่อหนึ่งหน่วยพื้นที่ลงให้ได้ร้อยละ 20 ภายในปี 2574 เทียบกับฐานปี 2564
  • บริษัทมีการบริหารจัดการทรัพยากรเพื่อการผลิตสื่อโฆษณาให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยการนำไวนิลเหลือใช้หรือหมดสัญญาของลูกค้านำกลับมาใช้ใหม่ รวมถึงสติ๊กเกอร์ที่ใช้ในสื่อโฆษณาบนรถประจำทางปรับอากาศมาปรับปรุงและออกแบบให้เกิดประโยชน์เพิ่มขึ้นร้อยละ 10 ต่อปี
การจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

บริษัทตระหนักถึงปัญหาโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่รุนแรงมากขึ้น เป็นปัจจัยเร่งด่วนที่ ทุกฝ่ายต้องให้ความร่วมมือในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตามความตกลงปารีส บริษัทได้แสดงความมุ่งมั่นในการควบคุมอุณหภูมิเฉลี่ยของโลก โดยที่ผ่านมาบริษัทมีการบันทึกและเก็บสถิติข้อมูลต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการจัดการและกำหนดมาตรการในการลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกได้ในระยะยาว

สถิติปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของบริษัท

การปล่อยก๊าซเรือนกระจกของ Operation Team ในปี 2563 และ 2564 เป็นดังนี้

  • ปี 2563 ปล่อยก๊าซเรือนกระจกปริมาณราว 17,664,624 KgCO2e
  • ปี 2564 ปล่อยก๊าซเรือนกระจกปริมาณราว 15,324,660 KgCO2e
  • ปี 2565 ปล่อยก๊าซเรือนกระจกปริมาณราว 22,793,000 KgCO2e

โครงการที่ช่วยลดปริมาณการใช้พลังงานในช่วงปี 2562-2565

  1. เปลี่ยนระบบไฟส่องสว่างเป็นโคมไฟแบบ LED

    ตามที่ภาครัฐมีนโยบายบริหารจัดการด้านพลังงานของประเทศ โดยส่งเสริมและผลักดันการอนุรักษ์พลังงานอย่างเต็มรูปแบบตามแผนปฏิบัติการอนุรักษ์พลังงาน 20 ปี (พ.ศ.2554-2573) พร้อมส่งเสริมการใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าประสิทธิภาพสูงและอาคารประหยัดพลังงาน พัฒนาพลังงานสะอาด เพื่อลดก๊าซเรือนกระจกและแก้ปัญหาโลกร้อน

    ทางบริษัทได้ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว และสนองต่อนโยบายของรัฐในทุกๆ ด้าน โดยบริษัทได้มีการเปลี่ยนหลอดไฟเป็นแบบ LED ซึ่งใช้พลังงานต่ำแต่ให้ประสิทธิภาพในการส่องสว่างสูง ไม่มีสารรังสียูวีและสารปรอท ซึ่งเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและช่วยลดภาวะโลกร้อนได้ รวมไปถึงช่วยลดค่าไฟฟ้าลงไปได้มากกว่าร้อยละ 50 ในปี 2565 บริษัทได้เปลี่ยนโคมไฟส่องป้ายบิลบอร์ดจากโคมไฟแบบ Metal Halide เป็นแบบ LED จำนวน 4,700 โคม ซึ่งช่วยลดค่าไฟไปได้ 13,254,000 บาทต่อปี และลดก๊าซเรือนกระจกไปได้ราว 6,552 kgCO2e หรือกิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี

  2. การปรับปรุงจอ LED

    เนื่องจากสินทรัพย์ในการดำเนินกิจการของบริษัทเกือบทั้งหมดเป็น ป้ายพื้นที่โฆษณา บริษัทจึงได้เล็งเห็นประโยชน์ในการปรับปรุงป้าย LED เพื่อลดการซ่อมบำรุงทั้งในด้านกำลังคนและค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุง โดยการปรับปรุงจอ LED นี้ได้เริ่มมาตั้งแต่ปี 2564 เป็นต้นมา มีผลประกอบการ ดังนี้

    • ในปี 2564 จากการปรับปรุงจอ LED พื้นที่ทั้งหมด 9,865 ตารางเมตร ส่งผลให้ช่วยลดการใช้เชื้อเพลิงในการเดินทางประมาณ 154 ลิตรต่อเดือน ลดค่าใช้จ่ายทั้งค่าบำรุงรักษาและค่าเชื้อเพลงราว 15,786,630 บาท และลดก๊าซเรือนกระจกได้ราว 2,270 tCO2e หรือ ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี
    • ในปี 2565 จากการปรับปรุงจอ LED พื้นที่ทั้งหมด 1,375 ตารางเมตร ส่งผลให้ช่วยลดการใช้เชื้อเพลิงในการเดินทางประมาณ 100 ลิตรต่อเดือน, ลดค่าใช้จ่ายทั้งค่าบำรุงรักษาและค่าเชื้อเพลงราว 159,600 บาท และลดก๊าซเรือนกระจกได้ราว 3,288 tCO2e หรือ ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี 2564 เพิ่มเติม

เป้าหมายด้านการจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในปี 2566

บริษัทตั้งเป้าหมายในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกร้อยละ 5-10 ภายในปี 2566 เทียบกับปีฐาน 2564 ผ่านการปรับปรุงหน้าจอของป้ายสื่อโฆษณาของบริษัท รวมไปถึงการเปลี่ยนโคมไฟและหลอดไฟให้เป็นแบบ LED

เป้าหมายด้านการจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศระยะยาว

บริษัทมีความมุ่งมั่นในการควบคุมอุณหภูมิเฉลี่ยและให้ความร่วมมือในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตามความตกลงปารีส (Paris Agreement) เพื่อความยั่งยืนในระยะยาว บริษัทจึงตั้งเป้าหมายที่จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงให้ได้ร้อยละ 5-10 ภายในปี 2574 เทียบกับฐานปี 2564

การประเมินความเสี่ยงเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทั้ง 4 ด้าน

วัตถุประสงค์ : ประเมินความเสี่ยงและโอกาสด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

บริษัทดำเนินการประเมินความเสี่ยงและโอกาสด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศผ่านการประเมินความเสี่ยงทั่วทั้งองค์กร โดยแต่ละหน่วยธุรกิจระบุปัจจัยความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติหน้าที่ผ่าน Risk Champion และแบบ Top-down การประเมินผ่านคณะกรรมการกลยุทธ์องค์กร ครอบคลุมทั้งความเสี่ยงในปัจจุบันและที่เกิดขึ้นใหม่ (Emerging Risk) ตามกรอบการรายงานความเสี่ยงของคุณทำงานเปิดเผยข้อมูลการเงินที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ (Task Force on Climate-related Financial Disclosures: TCFD) โดยพิจารณาจากปัจจัยต่างๆ และได้ผลการประเมินเบื้องต้น ดังนี้

ความเสี่ยง รายละเอียดความเสี่ยง ผลกระทบต่อบริษัท มาตรการรองรับ
ความเสี่ยงด้านกลยุทธ์ (Strategic Risks) ความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งภาวะเรือนกระจก, อุณหภูมิที่สูงขึ้น สภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรง และการขาดแคลนน้ำและวัตถุดิบ
  • ความเสียหายต่อป้ายโฆษณาของบริษัท
  • ค่าใช้จ่ายและผลการดำเนินงานด้านไฟฟ้า
  • ชื่อเสียงด้านลบ หากป้ายโฆษณาในการขึ้นสื่อของแบรนด์ต่างๆ ได้รับความเสียหาย หรือเกิดการชำรุดจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ
  • บริษัทมีการจัดตั้งทีมงาน ระบบบริหารจัดการ รวมทั้งอุปกรณ์เฉพาะ เพื่อดูแลรักษาในการป้องกันความเสียหายและเพื่อซ่อมแซมสื่อโฆษณาที่ใช้นำเสนอทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง
  • บริษัทมีการตรวจสอบและติดตามคุณภาพของอุปกรณ์ผ่านระบบออนไลน์ และมีการตระเวนตรวจสอบสื่อโฆษณาจากทีมช่างผู้ชำนาญและมากประสบการณ์
  • ในกรณีที่พบว่าสื่อโฆษณาเกิดความเสียหายหรือเสื่อมสภาพ บริษัทจะส่งทีมงานซ่อมบำรุงและซ่อมแซมสื่อโฆษณาคืนสู่สภาพสมบูรณ์ตามระยะเวลาที่บริษัทกำหนดในนโยบายต่อผู้ใช้บริการ
ความเสี่ยงด้านการปฏิบัติงาน (Operational Risks) ความเสี่ยงจากผลกระทบทางกายภาพทั้งแบบเฉียบพลันและเรื้อรังจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เช่น น้ำท่วม และภัยแล้ง การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ไม่สามารถคาดการณ์ได้ และอุณหภูมิที่สูงขึ้น
  • ความล่าช้าในการก่อสร้างหรือติดตั้งป้ายโฆษณาสื่อภายในระยะเวลาที่กำหนด
  • ขั้นตอนการจัดการสินค้า เช่น การวางแผนซ่อมบำรุงป้ายโฆษณาที่ชำรุด
  • การขาดแคลนบุคลากร
  • บริษัททำการออกแบบและกำหนดวัสดุที่ใช้ในการก่อสร้างติดตั้งสื่อโฆษณาโดยทีมงานผู้ออกแบบและวิศวกรชั้นนำของบริษัทที่มีความเชี่ยวชาญและมีผลงานเป็นที่ยอมรับในระดับสากลเพื่อให้ได้มาตรฐานที่สูงกว่าที่กำหนดและสามรถบริหารระยะเวลาในก่อสร้างได้ตามที่ได้ตกลงกันไว้
  • บริษัทมีการตรวจสอบและติดตามคุณภาพของอุปกรณ์ผ่านระบบออนไลน์ และมีการตระเวนตรวจสอบสื่อโฆษณาจากทีมช่างผู้ชำนาญและมากประสบการณ์
  • ในกรณีที่พบว่าสื่อโฆษณาเกิดความเสียหายหรือเสื่อมสภาพ บริษัทจะส่งทีมงานซ่อมบำรุงและซ่อมแซมสื่อโฆษณาคืนสู่สภาพสมบูรณ์ตามระยะเวลาที่บริษัทกำหนดในนโยบายต่อผู้ใช้บริการ
ความเสี่ยงด้านการเงิน (Financial Risks) ความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม/ความต้องการของลูกค้า/ผู้บริโภคที่ตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศมีเพิ่มมากขึ้น
  • การลดลงของรายได้จากการดำเนินงาน
  • บริษัทเดินหน้าพัฒนาคอนเทนท์ให้ครอบคลุมทุกด้านเพื่อตอบสนองความต้องการของแบรนด์และสินค้าได้อย่างรอบด้าน
  • บริษัทเน้นการนำเสนอแพคเกจเครือข่ายสื่อโฆษณาจากการคัดสรรนำมาผสมผสานกันเพื่อให้ได้บริการสื่อโฆษณาที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ครอบคลุมผู้ชมได้อย่างมั่วถึง เพื่อให้ลูกค้าวางแผนการใช้เม็ดเงินโฆษณาได้อย่างคุ้มค่า
ความเสี่ยงด้านกฎระเบียบ (Compliance Risks) ความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงนโยบาย/กฎเกณฑ์ของภาครัฐเพื่อตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมไปถึงความเสี่ยงจากการไม่ปฏิบัติตาม กฎระเบียบข้อบังคับต่างๆ รวมถึง สัญญาและข้อตกลงต่างๆ
  • การลดลงของรายได้จากการดำเนินงาน
  • บริษัทให้ความร่วมมือกับภาครัฐในการกำหนดให้ทุกหน่วยงานที่เป็นคู่สัญญากับภาครัฐ เปิดเผยแบบแสดงบัญชีรายรับ-รายจ่ายต่อสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.)
  • บริษัทมีเป้าหมายให้พนักงานทุกระดับในองค์กรยึดถือแนวทางการกำกับดูแลกิจการที่ดี เพื่อป้องกันและลดความเสี่ยงที่อาจจะก่อให้เกิดการทุจริตคอร์รัปชั่นและการไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
โอกาส รายละเอียดโอกาส ผลกระทบต่อบริษัท

ผลิตภัณฑ์และบริการ (Products and Services)

โอกาสในการเพิ่มสัดส่วนของผลิตภัณฑ์บริการสำหรับสินค้าบางชนิดที่ส่งเสริมการลดการปล่อย ก๊าซเรือนกระจกและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
  • เกิดนวัตกรรมในการผลิตป้ายโฆษณาและบริการ
  • เพิ่มชื่อเสียงด้านบวกจากการมีป้ายโฆษณาหรือบริการที่ส่งเสริมด้านการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

การตลาด (Market)

โอกาสในการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันและช่องทางการตลาดที่ได้เปรียบคู่แข่งที่เกี่ยวกับด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
  • Channels for ช่องทางในการโฆษณาการบริการ รวมถึงการเข้าถึงผู้ชมได้อย่างรวดเร็ว the service that reaches the audience fast
การบริหารจัดการน้ำ

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศส่งผลกระทบต่อปริมาณน้ำในแหล่งน้ำของแต่ละพื้นที่ ทำให้เกิดความเสี่ยงที่ปริมาณน้ำไม่พอเพียงต่อความต้องการของภาคส่วนต่างๆ บริษัทจึงกำหนดแผน และการบริหารจัดการน้ำ รวมทั้งปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้น้ำให้ดียิ่งขึ้น

แนวทางการบริหารจัดการน้ำ

  • เพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำในกระบวนการใช้น้ำ
  • การนำน้ำเสียผ่านการบำบัดกลับมาใช้งาน
  • การควบคุมปริมาณน้ำในการล้างรถ ทั้งการใช้ก๊อกแบบมีหัวเปิดปิด และการตรวจเช็คความพร้อมของ อุปกรณ์ในการล้างเพื่อไม่ให้สิ้นเปลืองน้ำ

สถิติปริมาณการใช้น้ำของบริษัท

  ปี 2563 ปี 2564 ปี 2565

ปริมาณการใช้น้ำ (ลบ.ม)

450 455

360

เพิ่มขึ้น (ลดลง) (%)

nm +1% -21%

เป้าหมายด้านการบริการจัดการน้ำในปี 2566

บริษัทกำหนดเป้าหมายในการลดการใช้น้ำจาก Operation ร้อยละ 5-10 ภายในปี 2566 เทียบกับปีฐาน 2564

เป้าหมายด้านการบริการจัดการน้ำระยะยาว

บริษัทมุ่งมั่นบริหารจัดการลดปริมาณการใช้น้ำร้อยละ 10 ในปี 2574 เทียบกับฐานปี 2564 เพื่อความยั่งยืนในด้านสิ่งแวดล้อมและลดความเสี่ยงเรื่องปริมาณน้ำที่ไม่เพียงพอต่อความต้องการของภาคส่วนต่างๆ ในระยะยาว

จากผลการดำเนินงานที่กล่าวไว้ข้างต้นในเรื่องของการจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการบริหารจัดการน้ำถือเป็นเรื่องที่บริษัทให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก สอดคล้องกับมาตรฐานการรายงานระดับสากล Global Reporting Initiatives (GRI) ในหัวข้อ

  • GRI 302: Energy
    • GRI 302-1 Energy consumption within the organization
    • GRI 302-4 Reduction of energy consumption
    • GRI 302-5 Reductions in energy requirements of products and services
  • GRI 303: Water and Effluents
    • GRI 303-1 Interactions with water as a shared resource
    • GRI 303-2 Management of water discharge-related impacts
    • GRI 303-3 Water withdrawal
    • GRI 303-5 Water consumption
  • GRI 305: Emissions
    • GRI 305-1 Direct (Scope 1) GHG emissions
    • GRI 305-2 Energy indirect (Scope 2) GHG emissions
    • GRI 305-4 GHG emissions intensity
    • GRI 305-5 Reduction of GHG emissions
การจัดการของเสีย

การจัดการของเสียถือเป็นส่วนสำคัญในการดำเนินธุรกิจเพื่อช่วยลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อมในระยะยาวและยั่งยืน โดยทั่วไปแล้วของเสียจากการดำเนินงานของบริษัทจะเกิดจากกิจกรรมภายในสำนักงานและป้ายไวนิลที่ใช้แล้วที่เกิดจากธุรกิจสื่อโฆษณานอกที่อยู่อาศัยของบริษัท

แนวทางการบริหารจัดการของเสีย

บริษัทให้ความสำคัญกับการใช้พลังงานอย่างคุ้มค่าและลดปริมาณของเสียในการดำเนินงานของบริษัท อีกทั้งการจัดการของเสียที่เกิดขึ้นจากดำเนินงานของบริษัทเพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง รวมไปถึงช่วยลดผลกระทบต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อมโดยรวม

โครงการที่เกี่ยวข้องกับการจัดการของเสีย

1. การคัดแยกขยะ

บริษัทตระหนักถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศจึงมีการรณรงค์และขอความร่วมมือในการคัดแยกขยะเพื่อช่วยลดปริมาณขยะลง และช่วยลดมลภาวะที่เป็นพิษ โดยบริษัทได้มีการติดตั้งถังขยะแบบแยกประเภทให้ครอบคลุมพื้นที่ทั้งสำนักงานใหญ่ สำนักงานพระรามเก้า และโกดังตามจุดต่าง และแยกขยะทั่วไปและขยะพิษแยกเก็บทิ้งให้กทม. รวมไปถึงนำขยะรีไซเคิลมาจำหน่ายต่อ เพื่อช่วยลดปริมาณขยะลง สามารถนำขยะเปียกไปทำเป็นเชื้อเพลิงหรือก๊าซชีวภาพได้ และเพิ่มความปลอดภัยต่อขยะที่เป็นอันตราย

2. Zero Waste Process ลดพลังงานในการกำจัดภาพโฆษณาเก่าไวนิล (Vinyl)

วัสดุไวนิลเป็นสิ่งจำเป็นในการดำเนินธุรกิจ ซึ่งใช้เป็นภาพโฆษณาบนป้ายโฆษณานอกบ้านขนาดใหญ่ (Billboard) โดยบริษัทมุ่งมั่นที่จะสร้างเสริมคุณค่าและลดพลังงานในการกำจัดป้ายไวนิลที่ใช้แล้ว โดยแต่ละปีบริษัทจะนำป้ายไวนิลที่ใช้แล้วไปสร้างประโยชน์ฉละช่วยเหลือสังคม ดังนี้

  • นำไปเป็นวัตถุดิบสนับสนุนให้กับสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง นนทบุรี เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและช่วยส่งเสริมทักษะ ช่วยแบ่งเบาภาระทางสังคม
  • นำไปช่วยสร้างความสุขให้กับชุมชน ใช้คลุมหลังคาที่รั่วและใช้เป็นกันสาดกันน้ำฝน
ปี พื้นที่ป้ายไวนิลที่ใช้แล้ว (ตารางเมตร) น้ำหนักของป้ายไวนิลที่ใช้แล้ว (ตัน)

2561

13,351 13.35

2562

14,499 14.49

2563

13,239 13.24

2564-2565

5,036 5.00

สถิติปริมาณของเสียของบริษัท

  ปี 2562 ปี 2563 ปี 2564 ปี 2565 เป้าหมายปี 2566 เป้าหมาย ระยะยาว

ปริมาณของเสีย (ตร.ม.)

N/A N/A N/A 279,010 250,000 <250,000

เพิ่มขึ้น(ลดลง) (%)

N/A N/A N/A N/A -10% -

ปริมาณของเสียทั้งหมดต่อรายได้ (ตร.ม.ต่อล้านบาท)

N/A N/A N/A 42.34 33.33 <25.00
การจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

บริษัทตระหนักถึงปัญหาโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่รุนแรงมากขึ้น เป็นปัจจัยเร่งด่วนที่ ทุกฝ่ายต้องให้ความร่วมมือในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตามความตกลงปารีส บริษัทได้แสดงความมุ่งมั่นในการควบคุมอุณหภูมิเฉลี่ยของโลก โดยที่ผ่านมาบริษัทมีการบันทึกและเก็บสถิติข้อมูลต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการจัดการและกำหนดมาตรการในการลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกได้ในระยะยาว

สถิติปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของบริษัท

การปล่อยก๊าซเรือนกระจกของ Operation Team ในปี 2563-2565 เป็นดังนี้

สถิติปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของบริษัท

  ปี 2563 ปี 2564 ปี 2565 เป้าหมายปี 2566 เป้าหมาย ระยะยาว

การปล่อยก๊าซเรือนกระจก (ตันคาร์บอนไดออกไซด์)

17,665 15,325 22,793 22,000 <22,000

เพิ่มขึ้น (ลดลง) (%)

nm -13% +49% -4% -

ปริมาณการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่อรายได้ (ตันต่อล้านบาท)

4.74 3.45 3.46 2.93 <2.20

ทั้งนี้ บริษัทตั้งเป้าหมาย Net Zero หรือ Carbon Neutral ภายในปี 2590

โครงการที่ช่วยลดปริมาณการใช้พลังงานในช่วงปี 2562-2565

1. เปลี่ยนระบบไฟส่องสว่างเป็นโคมไฟแบบ LED

ตามที่ภาครัฐมีนโยบายบริหารจัดการด้านพลังงานของประเทศ โดยส่งเสริมและผลักดันการอนุรักษ์พลังงานอย่างเต็มรูปแบบตามแผนปฏิบัติการอนุรักษ์พลังงาน 20 ปี (พ.ศ.2554-2573) พร้อมส่งเสริมการใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าประสิทธิภาพสูงและอาคารประหยัดพลังงาน พัฒนาพลังงานสะอาด เพื่อลดก๊าซเรือนกระจกและแก้ปัญหาโลกร้อน

ทางบริษัทได้ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว และสนองต่อนโยบายของรัฐในทุกๆ ด้าน โดยบริษัทได้มีการเปลี่ยนหลอดไฟเป็นแบบ LED ซึ่งใช้พลังงานต่ำแต่ให้ประสิทธิภาพในการส่องสว่างสูง ไม่มีสารรังสียูวีและสารปรอท ซึ่งเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและช่วยลดภาวะโลกร้อนได้ รวมไปถึงช่วยลดค่าไฟฟ้าลงไปได้มากกว่าร้อยละ 50 ในปี 2565 บริษัทได้เปลี่ยนโคมไฟส่องป้ายบิลบอร์ดจากโคมไฟแบบ Metal Halide เป็นแบบ LED จำนวน 4,700 โคม ซึ่งช่วยลดค่าไฟไปได้ 13,254,000 บาทต่อปี และลดก๊าซเรือนกระจกไปได้ราว 6,552 kgCO2e หรือกิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี

2. การปรับปรุงจอ LED

เนื่องจากสินทรัพย์ในการดำเนินกิจการของบริษัทเกือบทั้งหมดเป็น ป้ายพื้นที่โฆษณา บริษัทจึงได้เล็งเห็นประโยชน์ในการปรับปรุงป้าย LED เพื่อลดการซ่อมบำรุงทั้งในด้านกำลังคนและค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุง โดยการปรับปรุงจอ LED นี้ได้เริ่มมาตั้งแต่ปี 2564 เป็นต้นมา มีผลประกอบการ ดังนี้

  • ในปี 2564 จากการปรับปรุงจอ LED พื้นที่ทั้งหมด 9,865 ตารางเมตร ส่งผลให้ช่วยลดการใช้เชื้อเพลิงในการเดินทางประมาณ 154 ลิตรต่อเดือน ลดค่าใช้จ่ายทั้งค่าบำรุงรักษาและค่าเชื้อเพลงราว 15,786,630 บาท และลดก๊าซเรือนกระจกได้ราว 2,270 tCO2e หรือ ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี
  • ในปี 2565 จากการปรับปรุงจอ LED พื้นที่ทั้งหมด 1,375 ตารางเมตร ส่งผลให้ช่วยลดการใช้เชื้อเพลิงในการเดินทางประมาณ 100 ลิตรต่อเดือน, ลดค่าใช้จ่ายทั้งค่าบำรุงรักษาและค่าเชื้อเพลงราว 159,600 บาท และลดก๊าซเรือนกระจกได้ราว 3,288 tCO2e หรือ ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี 2564 เพิ่มเติม

เป้าหมายด้านการจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในปี 2566

บริษัทตั้งเป้าหมายในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกร้อยละ 5-10 ภายในปี 2566 เทียบกับปีฐาน 2564 ผ่านการปรับปรุงหน้าจอของป้ายสื่อโฆษณาของบริษัท รวมไปถึงการเปลี่ยนโคมไฟและหลอดไฟให้เป็นแบบ LED

เป้าหมายด้านการจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศระยะยาว

บริษัทมีความมุ่งมั่นในการควบคุมอุณหภูมิเฉลี่ยและให้ความร่วมมือในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตามความตกลงปารีส (Paris Agreement) เพื่อความยั่งยืนในระยะยาว บริษัทจึงตั้งเป้าหมายที่จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงให้ได้ร้อยละ 5-10 ภายในปี 2574 เทียบกับฐานปี 2564

การประเมินความเสี่ยงเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทั้ง 4 ด้าน

วัตถุประสงค์ : ประเมินความเสี่ยงและโอกาสด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

บริษัทดำเนินการประเมินความเสี่ยงและโอกาสด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศผ่านการประเมินความเสี่ยงทั่วทั้งองค์กร โดยแต่ละหน่วยธุรกิจระบุปัจจัยความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติหน้าที่ผ่าน Risk Champion และแบบ Top-down การประเมินผ่านคณะกรรมการกลยุทธ์องค์กร ครอบคลุมทั้งความเสี่ยงในปัจจุบันและที่เกิดขึ้นใหม่ (Emerging Risk) ตามกรอบการรายงานความเสี่ยงของคุณทำงานเปิดเผยข้อมูลการเงินที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ (Task Force on Climate-related Financial Disclosures: TCFD) โดยพิจารณาจากปัจจัยต่างๆ และได้ผลการประเมินเบื้องต้น ดังนี้

ความเสี่ยง รายละเอียดความเสี่ยง ผลกระทบต่อบริษัท มาตรการรองรับ

ความเสี่ยงด้านกลยุทธ์ (Strategic Risks)

ความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งภาวะเรือนกระจก, อุณหภูมิที่สูงขึ้น สภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรง และการขาดแคลนน้ำและวัตถุดิบ
  • ความเสียหายต่อป้ายโฆษณาของบริษัท
  • ค่าใช้จ่ายและผลการดำเนินงานด้านไฟฟ้า
  • ชื่อเสียงด้านลบ หากป้ายโฆษณาในการขึ้นสื่อของแบรนด์ต่างๆ ได้รับความเสียหาย หรือเกิดการชำรุดจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ
  • บริษัทมีการจัดตั้งทีมงาน ระบบบริหารจัดการ รวมทั้งอุปกรณ์เฉพาะ เพื่อดูแลรักษาในการป้องกันความเสียหายและเพื่อซ่อมแซมสื่อโฆษณาที่ใช้นำเสนอทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง
  • บริษัทมีการตรวจสอบและติดตามคุณภาพของอุปกรณ์ผ่านระบบออนไลน์ และมีการตระเวนตรวจสอบสื่อโฆษณาจากทีมช่างผู้ชำนาญและมากประสบการณ์
  • ในกรณีที่พบว่าสื่อโฆษณาเกิดความเสียหายหรือเสื่อมสภาพ บริษัทจะส่งทีมงานซ่อมบำรุงและซ่อมแซมสื่อโฆษณาคืนสู่สภาพสมบูรณ์ตามระยะเวลาที่บริษัทกำหนดในนโยบายต่อผู้ใช้บริการ

ความเสี่ยงด้านการปฏิบัติงาน (Operational Risks)

ความเสี่ยงจากผลกระทบทางกายภาพทั้งแบบเฉียบพลันและเรื้อรังจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เช่น น้ำท่วม และภัยแล้ง การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ไม่สามารถคาดการณ์ได้ และอุณหภูมิที่สูงขึ้น
  • ความล่าช้าในการก่อสร้างหรือติดตั้งป้ายโฆษณาสื่อภายในระยะเวลาที่กำหนด
  • ขั้นตอนการจัดการสินค้า เช่น การวางแผนซ่อมบำรุงป้ายโฆษณาที่ชำรุด
  • การขาดแคลนบุคลากร
  • บริษัททำการออกแบบและกำหนดวัสดุที่ใช้ในการก่อสร้างติดตั้งสื่อโฆษณาโดยทีมงานผู้ออกแบบและวิศวกรชั้นนำของบริษัทที่มีความเชี่ยวชาญและมีผลงานเป็นที่ยอมรับในระดับสากลเพื่อให้ได้มาตรฐานที่สูงกว่าที่กำหนดและสามรถบริหารระยะเวลาในก่อสร้างได้ตามที่ได้ตกลงกันไว้
  • บริษัทมีการตรวจสอบและติดตามคุณภาพของอุปกรณ์ผ่านระบบออนไลน์ และมีการตระเวนตรวจสอบสื่อโฆษณาจากทีมช่างผู้ชำนาญและมากประสบการณ์
  • ในกรณีที่พบว่าสื่อโฆษณาเกิดความเสียหายหรือเสื่อมสภาพ บริษัทจะส่งทีมงานซ่อมบำรุงและซ่อมแซมสื่อโฆษณาคืนสู่สภาพสมบูรณ์ตามระยะเวลาที่บริษัทกำหนดในนโยบายต่อผู้ใช้บริการ

ความเสี่ยงด้านการเงิน (Financial Risks)

ความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม/ความต้องการของลูกค้า/ผู้บริโภคที่ตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศมีเพิ่มมากขึ้น
  • การลดลงของรายได้จากการดำเนินงาน
  • บริษัทเดินหน้าพัฒนาคอนเทนท์ให้ครอบคลุมทุกด้านเพื่อตอบสนองความต้องการของแบรนด์และสินค้าได้อย่างรอบด้าน
  • บริษัทเน้นการนำเสนอแพคเกจเครือข่ายสื่อโฆษณาจากการคัดสรรนำมาผสมผสานกันเพื่อให้ได้บริการสื่อโฆษณาที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ครอบคลุมผู้ชมได้อย่างมั่วถึง เพื่อให้ลูกค้าวางแผนการใช้เม็ดเงินโฆษณาได้อย่างคุ้มค่า

ความเสี่ยงด้านกฎระเบียบ (Compliance Risks)

ความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงนโยบาย/กฎเกณฑ์ของภาครัฐเพื่อตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมไปถึงความเสี่ยงจากการไม่ปฏิบัติตาม กฎระเบียบข้อบังคับต่างๆ รวมถึง สัญญาและข้อตกลงต่างๆ
  • การลดลงของรายได้จากการดำเนินงาน
  • บริษัทให้ความร่วมมือกับภาครัฐในการกำหนดให้ทุกหน่วยงานที่เป็นคู่สัญญากับภาครัฐ เปิดเผยแบบแสดงบัญชีรายรับ-รายจ่ายต่อสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.)
  • บริษัทมีเป้าหมายให้พนักงานทุกระดับในองค์กรยึดถือแนวทางการกำกับดูแลกิจการที่ดี เพื่อป้องกันและลดความเสี่ยงที่อาจจะก่อให้เกิดการทุจริตคอร์รัปชั่นและการไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
โอกาส รายละเอียดโอกาส ผลกระทบต่อบริษัท

ผลิตภัณฑ์และบริการ (Products and Services)

โอกาสในการเพิ่มสัดส่วนของผลิตภัณฑ์บริการสำหรับสินค้าบางชนิดที่ส่งเสริมการลดการปล่อย ก๊าซเรือนกระจกและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
  • เกิดนวัตกรรมในการผลิตป้ายโฆษณาและบริการ
  • เพิ่มชื่อเสียงด้านบวกจากการมีป้ายโฆษณาหรือบริการที่ส่งเสริมด้านการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

การตลาด (Market)

โอกาสในการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันและช่องทางการตลาดที่ได้เปรียบคู่แข่งที่เกี่ยวกับด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
  • Channels for ช่องทางในการโฆษณาการบริการ รวมถึงการเข้าถึงผู้ชมได้อย่างรวดเร็ว the service that reaches the audience fast
นโยบายการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม (ปรับปรุงครั้งที่ 1)